ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดแรงงานทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ความผันผวนด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และภูมิรัฐศาสตร์ (WEF, 2023) ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ องค์กรต่างๆ ได้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมาตรฐานความยั่งยืนมาใช้ การเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลที่ยังต้องการความยั่งยืน สร้างความต้องการงานใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรม และภูมิภาคต่าง ๆ จากการสำรวจทั่วโลกใน 46 ประเทศ บริษัทต่างๆ ได้ระบุแนวโน้มสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจภายในองค์กรของตน โดยแนวโน้ม 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดมาใช้ให้มากขึ้น 2) การขยายการเข้าถึงดิจิทัลที่กว้างขึ้น 3) การนำมาตรฐานสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย (WEF, 2023)
โดยพนักงานกว่า 34% (ไม่ใช่ระดับผู้บริหาร) เชื่อว่าทักษะการทำงานของพวกเขาจะเปลี่ยนไปอย่างมากในอีกห้าปีข้างหน้า ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและบริษัทต่างๆ ทั่วโลกจึงมีการลงทุนเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการยกระดับทักษะดิจิทัลให้กับพนักงาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับงานและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของเศรษฐกิจดิจิทัล
เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับความต้องการยกระดับทักษะดิจิทัลอย่างรวดเร็ว สถาบันการศึกษาหันมาใช้ไมโครเครดิต ( Microcredentials) ซึ่งเดิมสถาบันเหล่านี้เคยนิยมใช้ใบรับรองผลการเรียน (academic Transcripts ) แต่เนื่องจากกระบวนการโอนหน่วยกิตโดยเฉพาะในกรณีให้ปรากฎบนใบรับรองใหม่ มักถูกมองว่าช้าและยุ่งยาก
นอกจากนี้ ใบรับรองผลการเรียน (ทางวิชาการ) จะไม่แสดงหรือมีข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนายจ้างเกี่ยวกับทักษะและความสามารถของแต่ละคน (ICDE, 2019) ในทางกลับกัน ไมโครเครดิต ( Microcredentials) สามารถทำหน้าที่ในการรับรองความสามารถของบุคคล ทั้งที่อยู่และไม่ได้อยู่ในสถานที่ทำงาน สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วโลก ได้เริ่มเสนอทางเลือกที่จะสามารถตรวจสอบ ความสามารถของบุคคลด้วยการมอบ (Alternative Digital Credentials: ADCs) ซึ่งเป็นทางเลือกในการรับรองข้อมูล ความสามารถ (ทางด้านดิจิทัล) แตกต่างจากประกาศนียบัตรและปริญญาทั่วไป เนื่องจาก ADC/s หรือใบรับรองทางด้าน ดิจิทัล เช่น Micro Badge สามารถตรวจสอบและแจกจ่ายได้ทุกช่องทางทางดิจิทัล ในขณะเดียวกัน บริษัทขนาดใหญ่ เช่น AT&T, IBM และ Walmart ซึ่งต้องการให้พนักงานมีทักษะที่จำเป็น ได้ลงทุนเพิ่มเติมในการฝึกฝนสำหรับบริษัท โดยเริ่มจากระดับโรงเรียนขึ้นมา การสำเร็จจากหลักสูตรเหล่านี้ จะทราบผลได้จากการได้รับ Digital Badge หรือ ดิจิทัลเบจ ตัวอย่างเช่น บริษัท Cisco จะมีการใช้ Digital Badge คู่ไปกับใบรับรองในทุกระดับ (Cisco, 202
Why DQ? ทำไมต้องเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี?
DQ หรือ ความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) คือ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายบนเส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อ และการเข้าสังคมในโลกออนไลน์ แม้ว่า IQ และ EQ จะยังคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ DQ ก็เป็นทักษะที่จำเป็นต้องเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อให้เด็กๆ มีความสามารถอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย
DQ Framework มีโครงสร้างเป็น 2 ประเภทได้แก่ “พื้นที่” และ “ระดับ” ของข่าวกรองดิจิทัลแปดด้านกว้างของชีวิตดิจิทัลได้รับระบุตัวตนดิจิทัล, การใช้งานดิจิทัล, ความปลอดภัยดิจิทัล, ความปลอดภัยดิจิทัล, ความฉลาดทางอารมณ์ดิจิทัล, การสื่อสารดิจิทัล ความรู้ดิจิทัล และสิทธิ์ดิจิทัลความสามารถภายใน 8 ด้านนี้สามารถแยกแยะได้มากขึ้นด้วย
ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาขั้นสูงและองค์กรต่าง ๆ หลายแห่ง จะมีการมอบ Digital Badge (alternative digital credentials: ADCs) ด้วยเช่นกัน ย้ำให้เห็นก่อนช่วงเกิดโรคระบาด จำนวนบริษัท EdTech ทีเพิ่มเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ต่อมาหลังยุคโควิด ปริมาณบริษัท EdTech ที่จำเป็นต้องมีหลักสูตรมากยิ่งขึ้น พร้อมกับการเสนอ Microcredentials ( Digital Badges ) ที่หลากหลาย เพื่อเสริมตามความต้องการของนายจ้าง และด้วยการพัฒนากอบกับการทดลองในช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ทั้งจากสถาบันอุดมศึกษา บริษัทขนาดใหญ่ และโรงเรียนต่าง ๆ ส่งผลให้มีปริมาณและบริการทางด้านการมอบ Microcredentials ที่สร้างความยุ่งเหยิง เพราะขาดการกำหนดด้วยมาตรฐานสากล และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับนายจ้าง ในเอกสารนี้ เราขอแนะนำ DQ Global Standards Microcredentials (GSM) ซึ่งเป็นรหัสทักษะที่บอกความสามารถในการทำงานร่วมกันในมาตรฐานสากล (An interoperable codification of skills) ที่สามารถนำมาใช้สำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ทักษะดิจิทัลพื้นฐานในสถาบันการศึกษา ไปจนถึงทักษะดิจิทัลในบริษัทและองค์กรต่างๆ ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจกับมาตรฐาน DQ Global Standards 2.0 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ DQ GSM เราจะอธิบายเกี่ยวกับ DQ GSM ลักษณะเฉพาะ และวิธีการใช้งานโดยองค์กรในแต่ละประเภท เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ และท้ายสุด เราจะยกตัวอย่างวิธีการนำ DQ GSM เพื่อไปใช้ในหมวดต่างๆ ทักษะดิจิทัลพื้นฐาน (Digital Literacy) ทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy) และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ( Sustainable Literacy )
“ดิจิทัล อินเทลลิเจนซ์ (DQ)” เป็นชุดทักษะที่ครอบคลุม ทั้งด้านเทคนิค ทักษะทางปัญญา ทักษะการรับรู้และเหนือการรับรู้ (meta-cognitive) ทักษะทางอารมณ์สังคม (socio-emotional) ที่ยึดโยงกับคุณค่าทางศีลธรรมสากล ช่วยให้เราสามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตยุคดิจิทัลได้
DQGS นำเสนอกรอบทักษะดิจิทัลที่ครอบคลุมอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายให้องค์กรต่าง ๆ สามารถนำ DQGS ไปปรับใช้ได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการขององค์กรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หน่วยงานรัฐบาล หรือโรงเรียน ล้วนสามารถนำ DQGS ไปประยุกต์ใช้และปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของตนเองได้อย่างง่ายดาย โดยพิจารณาจากเป้าหมายทางธุรกิจ เป้าหมายทางการศึกษา และวัฒนธรรม
DQGS ถูกแบ่งโครงสร้างออกเป็น ‘ด้าน’ (areas) และ ‘ระดับ’ (levels) ของดิจิทัล อินเทลลิเจนซ์ (DQ) ซึ่งแบ่งขอบเขตด้วย 8 ความฉลาดทางด้านดิจิทัล (ดูตารางที่ 1) ซึ่งเป็น
รูปที่ 1: กรอบงาน DQ สอดคล้องกับกรอบการเรียนรู้ โออีซีดี พัฒศึกษา 2030 และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
ทั้ง 8 ด้านนี้ ได้แก่
DQGS ที่เริ่มนำมาใช้ในปี 2019 นั้น ประกอบด้วย 8 ด้าน 3 ระดับ ได้แก่ พลเมืองดิจิทัล , พลเมืองสร้างสรรค์ทางดิจิทัล , พลเมืองเพื่อการแข่งขันด้านดิจิทัล
ต่อมาใน DQGS 2.0 ได้มีการพิจารณาใน ระดับที่ 4 คือพลเมืองที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ (Connectivity) เพราะการเชื่อมต่อดิจิทัลเป็นพื้นฐานและเป็นจุดเริ่มต้นที่จำเป็นสำหรับการเป็นพลเมืองดิจิทัล ในทุกระดับ