ทางองค์การสหประชาชาติ  (United Nations หรือ UN ) เริ่มปกธงแล้วว่า ไม่ควร ใช้สมาร์ทโฟน ในห้องเรียน โดยการใช้เทคโนโลยีให้เป็นสมดุลคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และความสามารถที่เหมาะสม โดยไม่เป็นฝั่งใดฝั่งหนึ่งเกินไป

องค์การสหประชาชาติ เผยว่า ควรมีการห้าม ใช้สมาร์ทโฟน ในโรงเรียนเพื่อไม่ให้การเรียนหยุดชะงัก สร้างการเรียนรู้เพิ่มเติม และช่วยปกป้องเด็ก ๆ จากการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตระหว่างเรียน

เรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ Digital Intelligence (DQ) >> https://dtech.or.th/dq

ทางฝั่งองค์กยูเนสโก (UNESCO) หน่วยงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของสหประชาชาติ กล่าวว่า มีหลักฐานว่าการ ใช้สมาร์ทโฟน มากเกินไปเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพการศึกษาที่ลดลง นั้นอยู่ในหัวข้อของ Balance use of technology จาก Digital Intelligence  นอกจากนี้และการใช้เวลาบนหน้าจอนานๆ จะส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็ก

ระยะเวลาการแอบใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนโดยมีวัตถุประสงค์อื่นที่ ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนักเรียนนักศึกษาที่มีระยะเวลาการแอบใช้สมาร์ทโฟนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคาบเรียนมีผลการเรียนในระดับสูง มากกว่านักศึกษาที่มีระยะเวลาการแอบใช้สมาร์ทโฟนครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของคาบเรียน

เนื่องจากการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนโดยมีวัตถุประสงค์อื่น เช่น การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้นักศึกษาขาดสมาธิใน การเรียนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลการเรียนได้ในที่สุด ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ Wei (2012)ที่อธิบายว่า แม้ว่านักศึกษาจะเชื่อว่าตนสามารถที่จะมีพฤติกรรมการทำงานได้หลายอย่าง (Multitasking

Behaviors) ในขณะที่อยู่ในชั้นเรียน เช่น การฟังการบรรยายจากอาจารย์ไปพร้อมๆ กับการส่งข้อความในสมาร์ทโฟน แต่ในความเป็นจริงแล้ว นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ภายใต้สภาวะดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถที่จะรักษาความสนใจต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อย่างเต็มที่

ออเดรย์ อาซูเลย์ ผู้อำนวยการยูเนสโกคนปัจจุบัน กล่าวว่า “การปฏิวัติทางดิจิทัลมีศักยภาพที่ประเมินค่าไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเตือนว่าควรมีการควบคุมอย่างไรในสังคม จะต้องให้ความสนใจเช่นเดียวกันกับวิธีการใช้ในการศึกษา การใช้งานจะต้องเป็นไปเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและครู ไม่ใช่เพื่อผลเสียต่อพวกเขา รักษาความต้องการของผู้เรียนเป็นอันดับแรกและสนับสนุนครูผู้สอน การเชื่อมต่อออนไลน์ไม่สามารถแทนที่ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ได้”

อย่างไรก็ตาม องค์กรยูเนสโกยังระบุในรายงานว่า ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าพวกเขามีวัตถุประสงค์และหลักการที่ชัดเจนเพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษามีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอันตราย ทั้งต่อสุขภาพของนักเรียนแต่ละคน ต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

อ้างอิง Wei, F.-Y. F. (2012). Text Messaging in Class May Affect College Students’ Learning. Retrieved September 22, 2015, from http://www.sciencedaily.com/releases/2012/04/120404101822.htm

หน่วยงานของยูเอ็นเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เทคโนโลยีเหล่านี้มาแทนที่การสอนในห้องเรียนที่มีครูเป็นผู้สอน

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ออกมาย้ำข้อเรียกร้องของตัวเอง ที่ต้องการให้เกิดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน โดยยูเนสโกได้ออกรายงานประเมินการศึกษาทั่วโลกประจำปี 2023 เมื่อวันพุธที่ 26 ก.ค.

“เทคโนโลยีบางอย่างสนับสนุนการเรียนรู้ได้ในบางบริบท” รายงานระบุ “แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เมื่อมีการใช้อย่างล้นเกิน รวมถึงการใช้โดยไม่มีครูผู้สอนด้วย”

“ต้องให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้เรียนมาเป็นอันดับหนึ่งและสนับสนุนครูผู้สอน” ออเดรย์ อาซูเลย์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกระบุ “การติดต่อกันทางออนไลน์ไม่สามารถทดแทนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันได้”

มาตรการชั่วคราว

รายงานของยูเนสโกยอมรับว่า เทคโนโลยีมีประโยชน์ในการป้องกันไม่ให้ระบบการศึกษาล้มเหลวลง ในระหว่างเกิดโรคระบาดโควิด-19 แต่ก็ยังระบุด้วยว่ามีเด็กมากมายที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

มีเด็กนักเรียนอีกอย่างน้อย 500 ล้านคนที่เข้าไม่ถึงการเรียนออนไลน์ในช่วงโรคระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กยากจนและกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท

ข้อดีต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนออนไลน์ยังไปไม่ถึงนักเรียนอีกเป็นจำนวนมาก โดยกว่า 1 ใน 4 ของโรงเรียนในระดับประถมทั่วโลกยังไม่มีแม้กระทั่งไฟฟ้าใช้ รายงานดังกล่าวระบุเพิ่มเติม

“การเรียนทางไกลเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น ก่อนที่นักเรียนจะสามารถเข้าถึงโอกาสและทรัพยากรทางการศึกษาได้อย่างเต็มที่” มาโน แอนทอนนิส ผู้เขียนรายงานฉบับดังกล่าวระบุ

บีบีซีได้ติดต่อสัมภาษณ์ผู้เขียนรายงานฉบับดังกล่าวเพิ่มเติม โดยนายแอนทอนนิสยอมรับว่า อุปกรณ์ดิจิทัลอย่างเช่นโทรศัพท์มือถือสามารถเป็นอุปกรณ์เรียนรู้ในช่วงยากลำบากให้คนกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้อพยพ แต่เขาก็มองว่าอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเพียงมาตรการฉุกเฉิน และไม่สามารถทดแทนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมได้

“กรณีตัวอย่างที่สุดโต่งก็อย่างเช่น เด็กหญิงชาวอัฟกันซึ่งไม่สามารถออกไปโรงเรียนได้ รวมถึงกรณีที่เด็กจำนวนมากยังต้องเรียนในโรงเรียนลับ ๆ ซึ่งบางส่วนต้องเรียนทางออนไลน์” นายแอนทอนนิสกล่าว

“แต่ถ้าเราเอากรณียกเว้นเหล่านี้ออกไป เราต้องมาตั้งคำถามว่า แล้วทางแก้การศึกษาในกรณีฉุกเฉินเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ในบริบทที่กว้างขึ้นได้อย่างไร อีกทั้งยังต้องไม่เอาผลประโยชน์ขององค์กรที่นำเสนอทางแก้เหล่านี้มาเป็นตัวตั้งด้วย”

นอกจากนี้ยังมีความท้าทายอื่น ๆ ด้วย นายแอนทอนนิสบอกว่าเนื้อหาของการเรียนออนไลน์จำนวนมากไม่ได้ยึดตามหลักสูตรการเรียนการสอนมาตรฐานระดับชาติ

“ทรัพยากรการสอนออนไลน์จำนวนมากเป็นภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุนี้นักเรียนจำนวนมากที่เรียนในภาษาถิ่นของตัวเองจึงเข้าไม่ถึงสื่อการสอนเหล่านี้ไปด้วย” เขากล่าว

“นอกจากนี้ ยังแทบไม่มีคำแนะนำด้วยว่าแอปพลิเคชันการสอนไหนที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียน รวมถึงไม่มีตัวบ่งบอกว่าแอปฯ ไหนมีคุณภาพสูง”

ทั้งนี้ การที่ผู้สร้างแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนเหล่านี้ไม่ได้รับฟีดแบคจากครูและนักเรียน ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แอปฯ เหล่านี้พัฒนาได้ไม่เต็มที่

รายงานฉบับดังกล่าวยังพบด้วยว่า ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้จะลดลงถ้าถูกใช้มากเกินไปหรือใช้โดยไม่มีการควบคุมโดยครูผู้สอน ยกตัวอย่างเช่น การมอบคอมพิวเตอร์ให้เด็กไปเฉย ๆ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้

รายงานของยูเนสโกฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้เป็นการยากที่จะทำการประเมินประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งผลการวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านี้ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ก็มักมาจากบริษัทที่ทำการขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้เสียเอง

ขาดการกำกับดูแล

อีกหนึ่งประเด็นที่น่ากังวลก็คือ การขาดการกำกับดูแล โดยมีประเทศเพียง 1 ใน 6 เท่านั้นที่มีกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนตัว

ยูเนสโกระบุว่า ไม่ได้แนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรมองว่าทุกความเปลี่ยนแปลงคือความก้าวหน้า

“การสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ได้หมายความว่าเราต้องสอนด้วยเทคโนโลยี รายงานฉบับดังกล่าวตั้งคำถามสำคัญว่าเราใช้เทคโนโลยีอย่างไรในระบบการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัลส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับการศึกษา” นายแอนทอนนิสกล่าว

เขายังกล่าวด้วยว่า “รายงานดังกล่าวไม่ได้แนะนำให้ประเทศต่าง ๆ หนีห่างออกจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี” แต่เขาตั้งคำถามไปยังรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ว่าให้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง

“รายงานฉบับนี้เตือนผู้กำหนดนโยบายให้คิดอย่างรอบคอบ ว่าพวกเขามีหลักฐานยืนยันเพียงพอหรือไม่ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ โชคร้ายที่หลักฐานที่มีนั้นยังอ่อน และในหลายครั้งยังลำเอียงด้วย” นายแอนทอนนิสระบุ

“มุมมองของเราคือ เพียงเพราะว่าเราสามารถทำบางสิ่งได้ นั่นไม่ได้แปลว่าเราควรทำ”